รายงานการละเมิด

โพสต์แนะนำ

ป้ายกำกับ

ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตพืช วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม.1

 

       
plant nutreintes
พืชต้องการธาตุอาหาร หรือ แร่ธาตุ สำหรับการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต โดยธาตุอาหารเหล่านี้ อยู่ในรูปของสารละลาย ภายในดิน ซึ่งรากมีการดูดซึมแร่ธาตุ โดยวิธีการแพร่ เข้าสู่ราก แล้วลำเลียงผ่านไปยังระบบท่อลำเลียงของพืช ที่เรียกว่า ไซเลม ก่อนส่งต่อไปทางยอดของพืช จะมีธาตุอาหารใดบ้างนั้น นักเรียนเข้ามาติดตามไปพร้อม ๆ กัน เลย

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

ว 1.2 ม. 1/14  อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช

ว 1.2 ม. 1/15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ที่กำหนด

    

    ธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช ประกอบไปด้วย 3 ชนิด ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม


1. ธาตุอาหารหลัก

     ธาตุอาหารหลัก คือ ธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่มาก ได้แก่ ธาตุอาหารที่มาจากอากาศ สำหรับการสังเคราะห์ด้วย แสง คือ C (คาร์บอน)O (ออกซิเจน)  H(ไฮโดรเจน) ส่วนธาตุอาหารที่มาจากการดูดซึมทางดินคือ N(ไนโตรเจน) P(โพแทสเซียม) K (ฟอสฟอรัส)


ผลของธาตุอาหารหลักต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตพืช

N (ไนโตรเจน)

    ช่วยในการสร้างกรดอะมิโน โปรตีน และฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยให้ใบมีสีเขียว

    อาการเมื่อพืชขาดธาตุอาหาร จะทำให้ใบซีด เหลืองจากส่วนปลายเข้ามา ใบเล็ก แคระแกร็น การเลือกปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการขาดธาตุไนโตรเจน ควรเลือกปุ๋ยหมักที่มีส่วนประกอบของพืชตระกูลถั่ว

P(ฟอสฟอรัส)

    ช่วยสร้างแป้ง และน้ำตาลในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยกระตุ้นการออกดอกและราก การติดผล สร้างเมล็ด

    อาการเมื่อพืชขาดธาตุอาหาร ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง น้ำตาล และหลุดร่วง ไม่ติดผล รากเจริญเติบโตช้า หากต้องการเลือกปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการขาดธาตุ ฟอสฟอรัส ควรเลือกปุ๋ยที่หมักด้วยเศษอาหาร หรือ กระดูกป่น

K (โพแทสเซียม)

    ช่วยในการสร้างโปรตีน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มีส่วนในการสร้างความแข็งแรงและต้านทานโรคให้กับพืช

    อาการเมื่อพืชขาดธาตุอาหาร ลำต้นไม่แข็งแรง และรสชาติและสีสันไม่สวยงาม รากไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านทานต่อโรคพืชได้ สามารถเพิ่มแร่ธาตุโพแทสเซียมให้กับพืชได้ โดยการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์




2. ธาตุอาหารรอง 

    ธาตุอาหารรอง คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยลงมา แต่ก็ขาดไม่ได้ หากขาดแล้วมีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช ได้แก่ Ca Mg S (Ca คือ แคลเซียม Mg คือ แมกนีเซียม และ S คือ กำมะถัน)

          สำหรับความสำคัญของธาตุอาหารรองของพืช ก็มีความสำคัญ ไม่แพ้ธาตุอาหารหลัก เป็นอย่างไรตามมาดูกันค่ะ

Ca (แคลเซียม) ช่วยแบ่งเซลล์ ผสมเกสร การเจริญของใบ และลำเลียงน้ำ เมื่อขาดพืชจะแสดงอาการ คือ ใบและตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดสีดำที่เส้นของใบ

Mg (แมกนีเซียม)  เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยดูดและลำเลียงแร่ธาตุฟอสฟอรัส เมื่อขาดพืชจะแสดงอาการ คือ ใบไม่สมบูรณ์ ใบที่แก่จะร่วงเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

S (กำมะถัน) ช่วยในการเจริญเติบโตของรากและเมล็ด ช่วยให้พืชทนอากาศเย็น มีผลต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และช่วยพัฒนาส่วนยอดพืช อาการของพืชเมื่อขาด แมกนีเซียม คือ ลำต้นอ่อนแอ


3. ธาตุอาหารเสริม 

    ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ Cu(ทองแดง) Cl(คลอรีน) B(โบรอน) Fe (เหล็ก)Mn(แมงกานีส) Mo (โมลิบดินัม )Zn(สังกะสี) Ni (นิกเกิล) สำหรับความสำคัญและอาการที่แสดงออกเมื่อพืชขาดธาตุอาหารเสริม แสดงดังตารางด้านล่างนี้


ธาตุอาหาร
ความสำคัญ
อาการของพืชเมื่อขาด
Cu
สร้างวิตามินเอ เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ช่วยในการหายใจและสังเคราะห์แสงของพืช
ลำต้นและยอดไม่สมบูรณ์ ใบอ่อนเป็นสีเหลือง เส้นใบเป็นสีชมพูขาว ใบเฉา ร่วงง่าย
Cl
เร่งการสร้างแป้ง และการสุกของผลไม้ สร้างฮอร์โมนและควบคุมการรักษาสมดุลน้ำในเซลล์ของพืช
ใบเหี่ยว เหลือง ซีด แห้งตาย บางครั้งใบจะเป็นสีบลอนด์
B
ช่วยในการออกดอก ผสมเกสร และการติดผล
ตายอด การแตกกิ่ง ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนา บางทีผลแตกเป็นแผลได้
Fe
ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยในการหายใจและการสังเคราะห์แสงของพืช
ใบอ่อนขาวซีด
Mn
ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ใบอ่อนเหลืองจาง เส้นใบยังคงเขียวสด แต่ใบเหี่ยวเฉา และร่วงง่าย
Mo
ช่วยสร้างโปรตีน และช่วยให้การใช้ N ในพืชได้ดีขึ้น
ใบอ่อนม้วน มีสีเหลืองอ่อน มีจุดขึ้นตามใบ ต้นแคระแกร็น
Zn
ช่วยสร้างฮอร์โมนออกซิน สร้างคลอโรฟิลล์ และสร้างแป้งในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ใบอ่อนมีสีขาวซีดขณะที่ใบแก่ยังเขียวส ตา ยอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อน ๆ
 
Ni
ช่วยในการงอกของเมล็ด ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ยูเรส
ปลายใบจะตาย และใบขนาดเล็ก

 


4. การเลือกใช้ปุ๋ย

          ปุ๋ยเคมีที่มีขายทั่วไป มีหลากหลายชนิด และมีอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นปุ๋ยที่มีอัตราส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ซึ่งในบางกรณีพืชอาจไม่ต้องการแร่ธาตุในปริมาณที่เท่ากันทั้งหมด ทั้งนี้ การเลือกสูตรหรือชนิดของปุ๋ยควรพิจารณาจากความต้องการ และอาการที่พืชแสดงออกมา เพื่อที่จะทำให้การใช้ปุ๋ยตรงกับความต้องการของพืชมากที่สุด

เมื่อนักเรียนได้รับทราบแล้วว่า พืชมีความต้องการแร่ธาตุ แต่ละชนิดอย่างไร และจะมีอาการผิดปกติอย่างไร หากขาดธาตุอาหารเหล่านั้น ฉะนั้นนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ โดยการดูแล และเลือกใช้ปุ๋ยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ และแก้ไขอาการของพืชอันเนื่องมาจากการที่พืชขาดธาตุอาหารได้

 

สรุปความรู้ที่ได้

    แร่ธาตุที่พืชต้องการสำหรับการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แร่ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ธาตุอาหารที่มาจากอากาศ สำหรับการสังเคราะห์ด้วย แสง คือ C (คาร์บอน)O (ออกซิเจน)  H (ไฮโดรเจน) ส่วนธาตุอาหารที่มาจากการดูดซึมทางดินคือ N(ไนโตรเจน) P(โพแทสเซียม) K (ฟอสฟอรัส) แร่ธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca(แคลเซียม) Mg(แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) และ แร่ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ Cu(ทองแดง) Cl(คลอรีน) B(โบรอน) Fe (เหล็ก)Mn(แมงกานีส) Mo (โมลิบดินัม )Zn(สังกะสี) Ni (นิกเกิล) ซึ่งเมื่อพืชขาดแร่ธาตุชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมส่งผลต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับพืชได้

นักเรียนศึกษาจบแล้วทำใบกิจกรรม 👉👉👉ธาตุอาหารที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของพืช



ขอบคุณบทความ

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

ธาตุอาหารพืช (plant nutrients)


ขอบคุณรูปภาพ 

อาการขาดธาตุอาหารพืช



ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ผู้หลงใหลในงานเขียน และมีความสุขกับทุกงานที่ทำ พร้อมแบ่งปันความสุขผ่านตัวหนังสือ

ความคิดเห็น