รายงานการละเมิด

โพสต์แนะนำ

ป้ายกำกับ

ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การลำเลียงของพืช วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม.1


การลำเลียงของพืช วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม.1 🌲ครูจะกล่าวถึงประเด็นหลัก 4 ประเด็น ได้แก่

  1. เนื่อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงของพืช
  2. การลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร (แร่ธาตุของพืช)
  3. การลำเลียงอาหารของพืช
  4. สรุปการลำเลียงของพืช

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง✅

ว 1.2 ม.1/9  บรรยายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม
ว 1.2 ม.1/10 เขียนแผนภาพที่บรรยายทิศทางการลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็มของพืช
นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถตรวจสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลำเลียงของพืชได้จากการทำใบกิจกรรม เรื่อง การลำเลียงของพืช วิทยาศาสตร์ ม.1 ได้

1. เนื่อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงของพืช

เนื้อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงของพืชได้แก่

    เนื้อเยื่อไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช จากรากขึ้นไปสู่ลำตั้น เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วย เซลล์เล็ก ๆ อีก 4 ชนิด ได้แก่ เซลล์เทรคีด เวสเซลล์ ไซเลมไฟเบอร์ เป็นเซลล์ที่ตายแล้วช่วยในการลำเลียงน้ำ และ ไซเลมพาเรนไคมา ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีชีวิต ช่วยลำเลียงน้ำ และสะสมอาหาร

    เนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem) เป็นเนื้อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงอาหารของพืช จากใบ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ประกอบด้วยเซลล์ ที่เรียกว่า เซลล์หลอดตะแกรง

ในลำต้นพืชจะเห็นว่าเนื้อเยื่อลำเลียงไซเลมและโฟลเอ็มจะรวมกลุ่มกัน เรียกว่า มัดท่อลำเลียง

ขอบคุณรูปภาพ จาก www.nana-bio.com/

2. การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ🍷

ใช้เนื้อเยื่อลำเลียงที่เรียกว่า ไซเลมดยมีทิศทางการลำเลียงจากล่างสู่บน กล่าวคือ จากรากขึ้นไปยังปลายยอด เป็นขั้นตอน คือ
  • น้ำออสโมซิสจากดินเข้าสู่ขนราก➡น้ำเข้าสู่ราก➡ผ่านลำต้นทางไซเลม➡ไปส่วนต่าง ๆ ของพืช 
  • แร่ธาตุแพร่จากดินเข้าสู่ขนราก➡น้ำเข้าสู่ราก➡ผ่านลำต้นทางไซเลม➡ไปส่วนต่าง ๆ ของพืช 
การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุทางท่อไซเลมจะเร็วกว่าการลำเลียงอาหาร และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การคายน้ำของพืช หากการคายน้ำสูงการลำเลียงน้ำก็จะสูงตามไปด้วย

วงปีของต้นไม้ เกิดจากท่อลำเลียงที่มีการเจริญไม่เท่ากันในแต่ละปี วงปีที่มีสีเข้มและแคบเกิดจากปริมาณน้ำน้อย ส่วนวงปีที่มีสีจางและกว้างเกิดจากปริมาณน้ำมาก เราสามารถทราบอายุของต้นไม้ได้จากการนับจำนวนวงปี

3. การลำเลียงอาหาร🍮

    ใช้เนื้อเยื่อลำเลียงที่เรียกว่า โฟลเอ็ม โดยมีทิศทางการลำเลียงจากใบไปทั่วทิศทาง กล่าวคือ จากใบลงราก ไปผล ไปยอด ไปลำต้น หรือ แหล่งเก็บสะสมอาหารอื่น ซึ่งการลำเลียงนี้จะช้ากว่าการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุในท่อไซเลม
อาหารที่พืชลำเลียง ได้ แก่ น้ำตาล และแป้ง ที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยอาหารที่พืชลำเลียงนั้นอาจนำไปเก็บสะสมอยู่ในเมล็ด ส่วนหัว เช่น หัวเผือกหัวมัน หรือ ส่วนลำต้น เช่น อ้อย ในส่วนของผล ทำให้ผลไม้มีรสหวาน และอาหารบางส่วนที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างพลังงาน ในกระบวนการหายใจของพืช และนำพลังงานเหล่านั้น มาใช้ในการเจริญเติบโตของพืช เช่น การงอก การสูงขึ้นหรือการขยายขนาดของลำต้น เป็นต้น สรุปทิศทางการลำเลียงอาหารของพืช ดังนี้

น้ำตาล และ แป้งจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบ ➡ลำเลียงผ่านโฟลเอ็ม➡ไปส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้น ราก ผล ยอด

4. สรุปการลำเลียงของพืช🚫

  • พืชมีการลำเลียงสารที่มีประโยชน์ไปใช้ในการเจริญเติบโต ได้ แก่ น้ำ แร่ธาตุ (ธาตุอาหาร) และ อาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • พืชลำเลียงน้ำและแร่ธาตุผ่านทาง ไซเลม โดยมีทิศทางการลำเลียงทิศทางการลำเลียงจากราก(ล่าง)สู่ยอด(บน)
  • พืชลำเลียงอาหารผ่านทาง โฟลเอ็ม โดยมีทิศทางการลำเลียงจากใบไปทั่วทิศทาง
  • อาหารที่พืชลำเลียง ได้แก่ น้ำตาล และ แป้ง ที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  • การลำเลียงอาหารทางโฟลเอ็มะช้ากว่าการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุทางท่อไซเลม

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการทำ ใบกิจกรรม เรื่อง การลำเลียงของพืช🔗🔗


หรือความรู้เพิ่มเติมที่มากกว่านี้ คลิ๊กได้ 👉👉👉ที่นี่

ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ผู้หลงใหลในงานเขียน และมีความสุขกับทุกงานที่ทำ พร้อมแบ่งปันความสุขผ่านตัวหนังสือ

ความคิดเห็น